วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทะเล

ประวัติความเป็นมาของทะเลน้อย
ทะเลน้อยได้เข้าเป็นภาคีลำดับที่ 110 ของอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งพันธกรณีของ
อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2541 การเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำที่มี ความสำคัญระดับ
นานาชาติบรรจุไว้ในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความ สำคัญระหว่างประเทศเป็นภารกิจหลักที่ประเทศ
ภาคีต้องดำเนินการ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ
Ramsar Siteแห่งแรกของประเทศไทย คือ พรุควนขี้เสียน อยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย มี
พื้นที่ประมาณ 3,085 ไร่ จากนั้นจึงได้ประกาศพื้นที่บริเวณตำบลทะเลน้อย ตำบลพนางตุง อำเภอ
ควนขนุน จังหวัดพัทลุง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา อำเภอชะอวดและอำเภอหัวไทร จังหวัด
นครศรีธรรมราช เนื้อที่ประมาณ 457 ตารางกิโลเมตร (285,625 ไร่)
ประเด็นสำคัญที่ควรรู้
อนุสัญญาแรมซาร์ไม่ละเมิดอำนาจอธิปไตยของภาคี ซึ่งเป็นเจ้าของดินแดนที่มีพื้นที่ชุ่ม
น้ำ อนุสัญญาแรมซาร์เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ มีการ
อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมชุมชน พื้นที่ชุ่มน้ำใดที่ได้รับการเสนอเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มี
ความสำคัญระหว่างประเทศแล้ว ต่อมามีความจำเป็น ภาคีสามารถเพิกถอนออกจาก
ทำเนียบหรือจำกัดขอบเขตใหม่ได้ แต่ทั้งนี้ต้องเสนอพื้นที่อื่นทดแทนด้วย
ความหลากหลายทางชีวภาพ
บริเวณป่าพรุ มีพันธุ์ไม้เด่น ได้แก่ ต้นเสม็ดหรือป่าเสม็ดซึ่งเป็นแหล่งทำรังของนกน้ำขนาดใหญ่
เช่น นกกาบบัวและ นกกระสาแดง บริเวณพื้นน้ำหรือที่เรียกว่า "ทะเลน้อย" มีชนิดพันธุ์พืชน้ำ
นานาชนิด ได้แก่ กง สาหร่ายต่างๆ กระจูด ผักตบชวา ละบัวชนิดต่างๆ เป็นแหล่งหาอาหารของนก
น้ำในทะเลน้อย บริเวณป่าดิบชื้น ซึ่งอยู่เชิงเขาที่น้ำท่วมไม่ถึงและตรงรอยเชื่อมต่อกับเทือกเขา
บรรทัด บริเวณนี้จะพบไม้ต้นและไม้พื้นล่างที่แตกต่างไปจากบริเวณอื่นๆ บริเวณพื้นที่เกษตรกรรม
เป็นแหล่งเพาะปลูก พืชปลูกส่วนใหญ่เป็นไม้ผล บริเวณป่าพรุจาการสำรวจชนิดพันธุ์พืชบริเวณ
พื้นที่ป่าพรุควนขี้เสียน และ ป่าพรุควนเคร็ง ซึ่งเป็นลักษณะเป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมถึง และเป็นพื้นที่
ชุ่มน้ำอย่างแท้จริง พบว่าส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุกในวงศ์กก (Cyperaceae) และวงศ์หญ้า (Poaceae)
ไม้ล้มลุกเด่นที่พบมาก ได้แก่ จูดหนู (Eleocharis ochrostachys) และแห้วทรงกระเทียม (E. dulcis)
นอกจากนี้ยังพบไม้ยืนต้นเด่น ได้แก่ เสม็ด เสม็ดขาว เสม็ดชุน และยังพบเฟิน เช่น กูดยาง) และผัก
กูดขม บริเวณควนขี้เสียน ซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ดอน บางบริเวณเป็นทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์
สลับกับเนินดิน หรือควนไม่สูงมากนัก เป็นบริเวณที่มีพันธุ์พืชพื้นเมืองเดิมเจริญอยู่พื้นที่ ได้แก่ ต้น
เนียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น