วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทะเล

ประวัติความเป็นมา ชะอำ
จังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่ริมทะเลฝั่งอ่าวไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เป็นระยะทาง 123 กิโลเมตร เป็น
เมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน โดยมีชื่อปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 สมัยสุโขทัย
และมีหลักฐานทางโบราณคดี คือมีศิลปวัตถุมากมาย ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า เพชรบุรีเคย
เป็น บ้านเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นชุมชนถาวรซึ่งมีอายุย้อนไปถึงสมัยขอมและสมัยทวาราวดี.
เมืองเพชรบุรี เป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองมา ตั้งแต่สมัยโบราณ และเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของไทย
ในกลุ่มหัวเมืองฝ่าย ตะวันตกที่มีชื่อเรียกปรากฏในหนังสือ ชาวต่างประเทศ เช่น ชาววิลันดา
เรียกว่า พิพรีย์ ชาวฝรั่งเศสเรียกว่า พิพพลี และ ฟิฟรี ซึ่งคงเป็นชื่อเดิมของเมือง เพชรบุรี.
นอกจากนี้ชื่อ เพชรบุรี มีปรากฏเป็นหลักฐานมา ตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สันนิษฐานว่า
ที่มาของชื่อ มีที่มา 2 ทาง คือ ทางแรกเป็นการเรียกตามชื่อแม่น้ำเพชร ส่วนอีกทางหนึ่งเป็นการเรียก
ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ในสมัยโบราณได้ปรากฏว่ามีแสงระยิบระยับในเวลากลางคืนที่เขา
แด่น.
ในสมัยสุโขทัย เพชรบุรี มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอก มีข้อสันนิษฐานว่า ต้นวงศ์กษัตริย์ของ
เพชรบุรีในช่วงสมัย สุโขทัย คือ พระพนมทะเลสิริ ผู้เป็นเชื้อสายของพระเจ้าพรหมแห่งเวียงไชย
ปราการ ราชวงศ์นี้ได้ครองเมืองเพชรบุรีมาจนถึงสมัยอู่ทอง จึงได้เสด็จไปสถาปนากรุงศรีอยุธยา
เป็นราชธานี.
ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือคำให้การของชาวกรุงเก่า ได้กล่าวถึงพระอินทราชาผู้ครองเมือง
เพชรบุรี ที่ขนานนามใหม่ว่า นครหลวง มีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระนางมณีมหา ทรงพระ
นามว่าอู่ทอง เมื่อพระอินทราชาสิ้นพระชนม์ พระเจ้าอู่ทองก็ครองนครเพชรบุรี ต่อจากพระราชบิดา
ต่อมานครเพชรบุรีได้เกิดข้าวยากหมากแพงผู้คนอดอยาก ช้างม้าโคกระบือป่วยไข้ล้มตายไปเป็น
จำนวนมาก พระเจ้าอู่ทองก็ทรงย้ายราชธานีมาสร้างพระนครใหม่ที่หนองโสน ให้นามว่า
กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา.
อีกประการหนึ่งคือ หนังสือราชอาณาจักรสยาม ของลาลูแบร์ ได้กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 1300 พระ
เจ้าพรหมได้ครองเมืองไชยปราการ และต่อจากนั้นมาจนถึงกษัตริย์องค์ที่ 11 คือ พญาสุนทรชัยเทพ
รัตน์ จึงทรงย้ายนครหลวงมาอยู่ที่ท่าเสา และได้มีกษัตริย์ ครองต่อมาจนถึงองค์ที่ 22 คือ พระพนม
ทะเล ได้มีความจำเป็นที่จะต้องอพยพ ผู้คนไปสร้างเมืองอยู่ที่นครไทย และเลยไปสร้างเมืองพิบพลี
(เพชรบุรี) ด้วย อยู่มาจนถึงกษัตริย์องค์ที่ 26 พระนามว่า รามาธิบดี จึงได้ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้น
เมื่อปี พ.ศ. 1894,แต่อย่างไรก็ตามข้อสันนิษฐานดังที่ได้กล่าวมา ก็ยังไม่เป็นข้อยุติ ว่าถูกต้องและ
แน่นอน ยังคงต้องมีการวินิจฉัยสำรวจหาหลักฐานสนับสนุน จากผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็แสดงให้เห็นได้
ว่า เพชรบุรี เป็นเมืองที่มั่งคั่งและอุดมสมบูรณ์ มาตั้งแต่อดีตกาล นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในด้าน
ประวัติศาสตร์อีกด้วย.
เพชรบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธ ยาตอนต้น ได้ขึ้นตรงต่ออยุธยาในแบบศักดินาสวามิภักดิ์ มีฐานะเป็น
หัวเมืองชั้นใน มีขุนนางควบคุมเป็นชั้นๆ ขึ้นไป แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัย
พระบรมไตรโลกนาถ อำนาจในส่วนกลางมีมากขึ้น เพชรบุรียังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกรุงศรี
อยุธยา ดังนั้น อำนาจจากส่วนกลางจึงมี ส่วนในการปกครองมากกว่าเดิม
ในสมัยพระมหาธรรมราช ทางเขมรได้ให้พระยาจีนจันตุ ยกทัพมาตีเมืองเพชรบุรี แต่ ชาว
เพชรบุรีต่อสู้ป้องกันเมืองไว้ได้ ต่อมาพระยาละแวก ได้ยกทัพมาด้วยตนเอง โดยมีกำลังประมาณ
7,000 คน เมืองเพชรบุรีจึงตกเป็นของเขมร จนถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงตีเขมรชนะ
เพชรบุรีจึงเป็นอิสระอีกครั้ง พระองค์ทรงโปรดเมือง เพชรบุรีมากจึงเสด็จมาประทับเป็นเวลานาน
ถึง 5 ปี.
ตามตำนานเมืองเพชรบุรีและชาวเมือง เพชรบุรีได้ร่วมกันเป็นกำลังในการต่อสู้กับ ข้าศึกหลาย
ครั้ง นับตั้งแต่ สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเชษฐาธิราช และสมัยพระเจ้าเอกทัศน์
โดยเฉพาะในสมัยพระเพทราชานั้น การปราบปรามเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งแข็งเมือง พระยา
เพชรบุรีได้เป็นกำลังสำคัญในการส่งเสบียงให้แก่กองทัพฝ่ายราชสำนักอยุธยา
นอกจากนี้ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทหารญี่ปุ่นได้ก่อความวุ่นวายขึ้นในกรุงศรีอยุธยา.
พระเจ้าทรงธรรมได้ขับให้ทหารญี่ปุ่นเดินทางออกจากเมือง ระหว่างนั้นทหารญี่ปุ่นได้ยึดเมือง
เพชรบุรีไว้ พระเจ้าทรงธรรมจึงยกทัพไปปราบ และขับไล่ทหารญี่ปุ่นออกนอกประเทศ,หลังจาก
นั้นเมืองเพชรบุรีถูกตีแตกอีกครั้ง เมื่อพม่า โดย มังมหานรธรา ได้ยกมาตีไทย จนไทย ต้องเสียกรุง
ศรีอยุธยาแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 (พ.ศ.2310) นั่นเอง.
ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ บ้านเมืองสงบสุข ความสวยงาม และ บรรยากาศที่น่าอยู่ของเมือง
เพชรบุรี ได้ทำให้ เพชรบุรี มีสถานที่สำคัญๆ เกิดขึ้นหลายแห่ง ดังจะเห็นได้จาก,ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงโปรดเมือง เพชรบุรีมาก จึงโปรดฯให้สร้าง
พระราชวังขึ้นบนภูเขาเตี้ยๆ ใกล้ตัวเมือง และพระราชทานนามว่า พระนครคีรี เพื่อ ใช้เป็นที่ต้อนรับ
แขกเมือง.

พระนครคีรี ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้โปรดฯให้
สร้างพระราชวังขึ้น อีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองเพชรบุรีคือ พระรามราชนิเวศน์ หรือ วังบ้านปืน

พระรามราชนิเวศน์ หรือ วังบ้านปืน และด้วยความเชื่อที่ว่าอากาศชายทะเล อาจบรรเทาอาการ
เจ็บป่วยได้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) จึงโปรดฯให้สร้างพระราชวัง พระ
ราชนิเวศน์มฤคทายวัน ขึ้นที่ชายหาดชะอำ

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ชายหาดชะอำ เป็นชายหาดที่ขึ้นชื่อแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี มีข้อ
สันนิษฐาน ที่มาของคำว่า “ชะอำ” ว่าแต่เดิมชะอำมีชื่อว่า "ชะอาน" เล่าสู่กันฟังว่าเมื่อครั้งสมเด็จ
พระนเรศวรยกทัพมาทางใต้ ทรงนำทัพมาเมืองนี้เพื่อพักไพร่พลช้างม้า และล้างอานม้า ซึ่งได้ชื่อว่า
"ชะอาน" ต่อมาเพี้ยนเป็น "ชะอำ",ชะอำในอดีตมีความเจริญด้านการท่องเที่ยว ตั้งแต่มีเส้นทาง
คมนาคมทางรถไฟ พ.ศ.2459 แต่เดิมเป็นตำบลในเขตการปกครองของ อ.นายาง เมื่อ อ.นายางได้
เปลี่ยนชื่อเป็น อ.หนองจอก สมัยสงครามเอเชียบูรพา กระทรวงมหาดไทยย้ายอำเภอหนองจอกมา
ตั้งที่ ต.ชะอำ และเปลี่ยนชื่อ อ.หนองจอก เป็น อ.ชะอำในปัจจุบัน จึงทำให้ต.ชะอำอยู่ในเขต อ.
ชะอำตั้งแต่ พ.ศ.2487 เป็นต้นมา ปัจจุบันนี้ ต.ชะอำอยู่ในเขตการปกครองของเทศบาล ต.ชะอำ
ทะเลชะอำหน้าหนาว ชะอำจึงเริ่มเป็นที่รู้จัก โดยสืบเนื่องมาจาก การนิยมมาพักผ่อนที่หัวหินมี
ซึ่งมีชื่อเสียงมากในอดีต แต่เมื่อที่ดินแถบชายทะเลของหัวหินถูกจับจองจนหมด พวกเจ้านายชั้น
ผู้ใหญ่สมัยนั้นจึงพยายามหาสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่ โดยการนำของสมเด็จกรมพระยานราธิป
ประพันธ์พงศ์ และได้พบว่าหาดชะอำเป็นชายหาดที่สวยงามไม่แพ้หัวหิน
หาดชะอำหลังฝนตก ปัจจุบันชะอำ ก็ยังคงมีชื่อเสียงในด้านการท่องเที่ยวอย่างไม่เปลี่ยนแปลง
อำเภอชะอำอยู่ห่างจากตัวเมือง 41 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าชายหาด ระยะทางประมาณ 2
กิโลเมตร เป็นชายหาดที่สวยงามและมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี ชะอำได้รับการพัฒนา
เจริญเติบโตขึ้น และยกฐานะเป็นอำเภอจนปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยจัดขบวนการรถไฟ
พิเศษนำ เที่ยวกรุงเทพฯ-ชะอำ ทุกวันหยุด รายละเอียดติดต่อหน่วยบริการเดินทาง โทร. 223-7010,
223-7020






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น